วิศวกรรม สารสนเทศและการสื่อสาร
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (อังกฤษ: Information and Communication Engineering (ICE)) เป็นสหวิทยาการทางวิศวกรรมเชิงประยุกต์โดยเป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ทางวิศวกรรมว่าด้วยการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตระบบ สารสนเทศและระบบการสื่อสาร สำหรับอุตสาหกรรมหรือองค์กรวิสาหกิจที่มีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและ สารสนเทศขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรวิสาหกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจสารสนเทศเพื่อการสื่อสารระดับประเทศ ระบบข้อมูลสารสนเทศดาวเทียม อุตสาหกรรมเกมและศึกษาบันเทิง ระบบเครือข่ายองค์กรวิสาหกิจ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ของวิสาหกิจขนาดใหญ่ เป้นต้น
วิศวกรสารสนเทศและการสื่อสารจะมีความรู้ทางด้านวิศวกรรมทั่วไป โดยเน้นความรู้พื้นฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารสารสนเทศ ระบบเครือข่าย ศาสตร์การบริหารจัดการ การประมวลและการจัดการวิสาหกิจ ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการผนวกรวมองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมโทรคมนาคม เข้าด้วยกัน
ปัจจุบัน วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนในประเทศไทยเป็นแห่งแรก ณ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE)]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
[แก้] จบ แล้วได้อะไร
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสหวิทยาการทางวิศวกรรมเชิงประยุกต์ดังนั้นผู้ศึกษาทางด้านนี้จะมีองค์ ความรู้ในหลายๆส่วนเข้าด้วยกันดังต่อไปนี้
* ทางด้านโทรคมนาคม
o ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ (Telecom Network and Computer Network)
o PAN, LAN, WAN, MAN, IP, ARP, Routing, IPTable, Firewall, DNS, NAT, PAT, VLAN, VPN, MPLS
o ระบบสายส่งแบบมีสายและไร้สาย (Wire Line and Wireless)
o Wireless LAN, Wiremax, Zigbee, Bluetooth, RFID, RF, Media Communication, Twisted-pair Network Cables, Coaxial
o ระบบสื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Mobile Phone, Satellite)
o Cellular, GSM ,GPRS , EDGA, CDMA, CDMA 2000-1x, CDMA2000 1xEV-DO, WCDMA, UMTS, GPS
o การสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสงและระบบสายอากาศ (Optical Fibre, Antenna)
o Fiber to the Home (FTTH)
* ทางด้านคอมพิวเตอร์
o ระบบปฏิบัติการ (Operation System) เช่น Linux, Unix, Window, Window Server
o ภาษาโปรแกรมสมัยใหม่ (Modern Language) เช่น C, C++, Java, ASP, PHP, HTML, Visual C++,Visual Studio .Net
o ระบบฐานข้อมูล (Database) เช่น SQL, Oracle
o การติดตั้งเซฟเวอร์ (Installation and Configuration) เช่น WEB Server, SQL Server, Mail Server, FTP Server, DNS Server
o การเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการระบบเครือข่าย
จบ แล้วทำงานอะไร
วิศวกรสารสนเทศและการสื่อสารมีความรู้ด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโครงข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมที่เป็นเครื่องมือสำคัญในภาค ธุรกิจปัจจุบันทั้งในธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่มีเครื่องมือสื่อสารเป็นของตนเอง แหล่งงานที่รองรับได้แก่
บริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและมีสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท AT&T, บริษัท IBM, บริษัท SUN Microsystems, บริษัท LUCENT Technology, บริษัท CISCO เป็นต้น วิศกรที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติเหล่านี้จะมีรายได้ต่อเดือนสูงมาก วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิศวกร พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามบริษัทต่างๆ ระบบโครงข่ายธนาคารและห้างสรรพสินค้าเป็นต้นวิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบ คอมพิวเตอร์อิสระรับทำงานทั่วไปให้แก่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นวิศวกรที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นเจ้าของกิจการได้วิศวกรออกแบบติดตั้ง และดูแลระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัทการสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด, บริษัท ไทยคม, บริษัท AIS, บริษัท DTAC, บริษัท True, บริษัท Telecom Asia, บริษัท TT&T, บริษัท Ericsson, บริษัท Nokia, บริษัท AT&T, และบริษัท SIEMENS เป็นต้นวิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม วิศวกรออกแบบติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ ที่มีสถานีทวนสัญญาณทั่วประเทศ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ วิศวกรดูแลระบบสื่อสารการบินพาณิชย์ เช่น บริษัท การบินไทย, บริษัท วิทยุการบิน จำกัด
[แก้] บท ความที่เกี่ยวข้อง
ศ.ดร.อธิคม ฤกษบุตร OSK98(94): วิศวกรรมยุคใหม่...เรียนอย่างไรไม่ตกงาน
วิศวกรรมยุคใหม่...เรียนอย่างไรไม่ตกงาน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 มิถุนายน 2551 08:52 น.
ปัจจุบัน "วิศวกร" ยังเป็นอาชีพท็อปฮิตของเด็กๆ ทุกยุคสมัย เพราะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ถูกมองว่าทำเงินได้เป็นจำนวนมากมีตลาดงานรองรับ เกือบทุกสถาบันมีการเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์อย่างแพร่หลาย และเป็นสาขาวิชาที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในวิชาชีพนี้ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันการศึกษา
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. อธิคม ฤกษบุตร OSK98(94) รองอธิการบดีและคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ผู้คร่ำวอดในวงการวิศวกรมาเป็นเวลาหลายปี กล่าวว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาจำเป็นต้องใช้วิศวกรเป็นจำนวนมาก ทำให้ความนิยมของวิศวกรในสาขาไฟฟ้า และ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์รวมไปถึงสารสนเทศกำลังมาแรง “ด้วยเหตุผลที่ว่าการทำงานต่างๆจำเป็นต้องใช้เครื่องมือระบบอัตโนมัติ ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจวัดกันที่ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล ใครมีข้อมูลมาก และนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ดี ก็จะได้เปรียบในการแข่งขันของภาคธุรกิจ เราจะเห็นได้ว่า การรวบรวมข้อมูลจะแตกต่างจากอดีต ข้อมูลที่มีทุกชนิด จะมีส่วนสำคัญหรือมีผลเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรทั้งสิ้น รวมถึงการทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดด้วย ปัจจุบันข้อมูลที่ไม่ได้นิ่งอยู่กับที่ แต่สามารถเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานแต่ละแห่งผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตได้ เพราะฉะนั้นไม่น่าแปลกใจว่า สายงานด้านคอมพิวเตอร์สารสนเทศจึงค่อนข้างจะเป็นที่นิยม เพราะว่าในตลาดกำลังต้องการแรงงานด้านนี้เป็นจำนวนมาก”
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้สายงานวิศวกรกำลังเป็นที่นิยมของหมู่นิสิต นักศึกษายุคใหม่ “ลักษณะงานกำลังพลิกโฉมหน้าไปจากเดิม ๆ อย่างนักศึกษาในปัจจุบัน บางทีอาจจะต้องมองไปถึงงานในอนาคตเพราะกว่าตัวเองจะจบได้ปริญญาก็ต้องใช้ เวลาอีก 3-5 ปี เพราะถ้าถึงเวลานั้นงานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะไม่เหมือนกับบริษัท หรือผู้ประกอบการมักจะมองออกว่างานจะเป็นไปแบบไหน แต่ในยุคปัจจุบันจะไม่ใช่แค่เรื่องของการจัดการข้อมูลเพียงอย่างเดียวแต่จะ มีเรื่องของการสื่อสารข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น”
ทั้งนี้ ทำให้เกิดระบบเชื่อมโยงข้อมูลที่เรียกว่า " ระบบเครือข่าย " ฉะนั้นการจัดการข้อมูลอย่างเดียวที่เป็นอยู่ตอนนี้จะใช้ไม่ได้แล้วแต่จะเป็น การจัดการระบบสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งศาสตร์ด้านวิศวกรรมรองรับการจัดการด้านนี้ได้โดยตรง
รองอธิการบดี กล่าวเสริมอีกว่า "คอมพิวเตอร์ในอดีตอาจจะพูดถึงฮาร์ตแวร์และซอฟแวร์ แต่ปัจจุบันจะพูดถึงการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายไปด้วย กัน เพราะฉะนั้นศาสตร์ในปัจจุบันจะแยกขยายออกไปหลายอย่าง ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นก็สำคัญกระบวนการจัดการข้อมูล คอมพิวเตอร์ก็ยังจำเป็นอยู่ เพราะมีข้อมูลที่มีรูปแบบต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจัดการ โดยข้อมูลในอนาคตจะเป็นรูปภาพและภาพยนตร์เช่นวีดิโอคลิปมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอีกด้านหนึ่ง อาทิ แอนิเมชั่น หรือ สื่อบันเทิงต่างๆ แทรกเข้ามาด้วย"
สำหรับการสื่อสารข้อมูลที่เป็นเครือข่าย ในปัจจุบันมีความจำเป็นมากเพราะทุกองค์กรต้องมีการติดต่อเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะคล้ายอินเทอร์เน็ต แต่จะทำมากกว่านั้นคือ จะมีการถ่ายโอนข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีความเชื่อมโยงกับ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE – Information & Communication Engineering) ที่กำลังเปิดสอนอยู่ในตอนนี้
"วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ไอซีอี คือการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์เชิงวิศวกรรม,ด้านสื่อสารโทร คมนาคมเชิงวิศวกรรม และด้านของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเรียกรวมได้ว่า เป็นศาสตร์วิศวกรรมโทรคมนาคมยุคใหม่ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนรู้ทางด้านนี้จะมีความรู้ครอบคลุมสามารถทำงานในสังคม ยุคใหม่ได้ทั่วโลก ที่สำคัญปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มมีความต้องการ ผู้ที่จบวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นแล้ว" รศ. ดร.อธิคม กล่าวทิ้งท้าย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น