วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering) เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างเครื่องหรือระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ศาสตร์นี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้าน ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร และความเกี่ยวเนื่องระหว่างเรื่องทั้งสาม หลักสูตรการเรียนมุ่งเน้นทางด้าน ทฤษฎี กฎ และ การฝึกฝนปฏิบัติของทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และ คณิตศาสตร์ รวมถึงการประยุกต์เข้ากับปัญหาทางด้านการออกแบบคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์
วิศวกรคอมพิวเตอร์จะต้องเคยศึกษาการออกแบบระบบฮาร์ดแวร์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงระบบการสื่อสาร องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะเรียนการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ดิจิทัล และ การสร้างส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ และ ระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ วิศวกรคอมพิวเตอร์อาจจะมีความรู้เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ หรือ มีความรู้พอ ๆ กันทั้งสองด้านก็ได้ แต่สิ่งที่โดดเด่นคือวิศวกรคอมพิวเตอร์จะมีความรู้ทางด้านการวิศวกรรมที่ดีด้วย
ปัจจุบันสาขาวิชาที่สำคัญในด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คือ ระบบฝังตัว การพัฒนาอุปกรณ์ที่มีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ฝังตัวภายใน เช่น อุปกรณ์สื่อสารอย่าง โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นวิทยุระบบดิจิทัล เครื่องบันทึกวิดีทัศน์ระบบดิจิทัล ระบบเตือนภัย เครื่องถ่ายรังสีเอ็กซ์ และ เครื่องมือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการการผนวกรวมฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ฝังตัวหรือของอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
วิศวกร
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh7dgD5fHyjykfSrM2iRh3uibejooNoyABMBtcc0dFx936gPMJNiL4cEHk22saeUJwpJvQBEd_F03W95th3zVFfigsNJWJgIVudFx229-kUSyaCXyMX0eVzCxIBMt0AF7Iv558ET-7TVGqn/s320/aburobot1.jpg)
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ (อังกฤษ: Mechatronics) เป็นสหวิทยาการเชิงประยุกต์ ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรม การควบคุมอัตโนมัติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน Mechatronics มาจากการผสมคำว่า "Mechanics" และ "Electronics" โดยวิศวกรจากบริษัท Yakawa Electric ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (CAD/CAM/CAE) คอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่ง และระบบควบคุม ผสานเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เพื่อนำผลของการผสมผสานไปพัฒนาในงานระบบอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างผลงานที่สร้างจากสาขาวิชานี้ได้แก่ “ระบบอัจฉริยะ” (Intelligent Systems) ซึ่งมีกลไกที่สามารถทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ ตามความต้องการที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างของระบบที่มีระบบเมคคาทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์กู้ภัย และอาคารอัจฉริยะ เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้เปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ระดับปริญญาตรีเป็นแห่งแรก
Posted on
|
0
ความคิดเห็น
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi8y5Fx0NiIJb2QISUziKa1ghrqQ7NzCKucd0wgxTFs2XkNNfO2kjX2yWzfsJ1ALfR9F410xlb6J2LH6wUHakrD4LzJ1vAJLV7BRee4NMOO4LnSNhEIwW2licnmjgqgwQpfKGyz7m2zyL2s/s320/104_B.jpg)
วิศวกรรมโยธา (civil engineering) เป็นศาสตร์ของสาขาหนึ่งในทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมการก่อสร้างตึก ตึกระฟ้า อาคาร สะพาน ถนน และระบบขนส่งอื่น ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น เขื่อน คลอง ตลอดจนการทำรังวัดในงานสำรวจและแผนที่ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง งานในทางด้านวิศวกรรมจะเน้นทางด้านการใช้วัสดุและทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรโยธา หรือเรียกกันว่า นายช่าง ในการทำงานในประเทศไทย ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจะขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรเพื่อรับ ใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) โดยมีการจัดสอบระบบใหม่เริ่มต้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 ด้วยระบบสุ่มข้อสอบทั้งหมดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (เฉพาะระดับ "ภาคีวิศวกร")
การศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธานั้นนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนี่อง จากการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าสามารถเรียกได้ว่าเป็น การพัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งมีผลโดยตรงกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมโยธาเช่นกัน ดังนั้นสถาบันการศึกษาหลายๆสถาบันจึงได้มีการปรับปรุงแผนการเรียนการสอนทาง ด้านวิศวกรรมโยธาให้มีความทันสมัยเพื่อผลิตบุคลากรทางด้านวิศวกรรมโยธา หรือที่เรียกกันว่า “วิศวกรโยธา” ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
วิศวกรรมโยธาเป็นสาขาวิศวกรรมที่เก่าแก่ที่สุด โดยตอบสนองความต้องการของสังคม[1]
สาขา ย่อย
ตัวอย่างแผนที่ใช้ในการแบ่งโซนอาศัย สร้างโดยใช้ระบบ จีไอเอส (GIS) โดยโปรแกรม ชื่อ อาร์คจีไอเอส (ArcGIS)
*วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและคำนวณ สิ่งก่อสร้าง การศึกษาในสาขานี้จะเน้นในทางด้านงานคำนวณวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้าง และแรงต้านทานของวัสดุ เพื่อหาวัสดุและขนาดของวัสดุที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ งานที่เกี่ยวข้องได้แก่ การก่อสร้างอาคาร เขื่อนหรือสะพาน เป็นต้น
*วิศวกรรม ก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management)
ศึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารเป็นหลัก โดยเน้นศึกษาทางด้านระบบการสร้างอาคาร การวางแผนงาน การประเมินราคาค่าก่อสร้าง นอกจากนี้ ในบางสถาบันจะมีการสอนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบสุขาภิบาลภายใน อาคาร
*วิศวกรรมขนส่ง (Transportation Engineering)
ศึกษาแยกเป็น 2 สาขาหลักคือระบบและวัสดุ โดยงานทางด้านระบบจะเน้นทางด้านการวางผัง การจราจร และการจัดการทางด้านงานจราจร โดยทำการศึกษาถึงประโยชน์และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบถนน สำหรับงานทางด้านวัสดุจะเน้นในการศึกษาวัสดุในการทำถนน ได้แก่ คอนกรีตและยางมะตอย เป็นหลัก โดยศึกษาถึงกรรมวิธีในการสร้างถนนและปรับปรุงถนน
*วิศวกรรมเทคนิค ธรณี (Geotechnical engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์และวิศวกรรมของดิน เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา
*วิศวกรรมธรณี (Geological engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางด้านฟิสิกส์ วิศวกรรมของหิน และธรณีวิทยาประยุกต์ เพื่อการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาด้าน*วิศวกรรมโยธาและเหมืองแร่
*วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (Environmental Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการระบบสิ่งแวดล้อมในน้ำและในอากาศ การปรับปรุงคุณภาพของของเสีย
*วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับงานทางด้านแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน และระบบการระบายน้ำ รวมทั้งการก่อสร้างคู คลอง และแม่น้ำ
*วิศวกรรมสำรวจ (Survey Engineering)
ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการทำรังวัดและงานทางด้านสำรวจ สำหรับใช้ในทางด้านแผนที่ รวมถึงการศึกษาทางด้าน จีพีเอส (GPS) และ ภูมิสารสนเทศ (Geoinformatics หรือ Geographic information system;GIS)
วิศวกรรมโทรคมนาคม เป็นวิศวกรรมศาสตร์ที่เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า มาเป็นองค์ความรู้เฉพาะทาง และเป็นวิศวกรรมที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายๆ ด้าน
งานวิศวกรรมโทรคมนาคมเป็นการรวบรวมวิศวกรรมแทบทุกสาขามาในงานวิศวกรรมโทร คมนาคม แม้แต่งานด้านวิศวกรรมโยธา ก็ยังเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโทรคมนาคม เช่น การวางฐานราก เสาตั้งสายอากาศ เป็นต้น หรือแม้แต่ทางการแพทย์ ก็มีการใช้วิศวกรรมโทรคมนาคมชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เช่น ความถี่วิทยุ และใยแก้วนำแสง มาประยุกต์ใช้ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย เป็นต้น
วิศวกรรมโทรคมนาคม ทำให้เกิดมีทรัพยากรคลื่นวิทยุ (Radio Wave)กลายเป็นทรัพยากรของมนุษย์โลกที่มีค่าประเมินไม่ได้เกิดขึ้นจากงาน วิศวกรรมโทรคมนาคม และเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อย่างกว้างขวาง กลายเป็นคลื่นลูกที่สามของการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์โลก (Third Wave Concept) และการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจของประเทศใดๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ เครือข่าย (Network)
ปัจจุบันงานวิศวกรรมโทรคมนาคม ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว และมีวงจรชีวิตของสินค้า หรืออุปกรณ์โทรคมนาคม สั้นลง (Shortly Technology Life Cycle)และมีความซับซ้อนสูงขึ้น พร้อมๆ ไปกับการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วยดังที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน
ระบบ โทรคมนาคม
ระบบโทรคมนาคม ได้คิดค้นและพัฒนาโดยวิศวกรโทรคมนาคม และผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงโทรคมนาคม อาทิ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์(en:Alexander Bell) ผู้คิดค้นโทรศัพท์ จอน โลกี้ แบรด (en:John Logie Baird) ผู้คิดค้นโทรทัศน์ และ กูลเลียโม มาโคนี่ (en:Guglielmo Marconi) ผู้คิดค้นวิทยุสื่อสาร
การสื่อสารโทรคมนาคม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภท ดังนี้
1. การสื่อสารที่เชื่อมต่อด้วยสาย (Wired) เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายโทรเลข เป็นต้น
2. การสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายดาวเทียม เป็นต้น
งานวิศวกรรมโทรคมนาคมเป็นการรวบรวมวิศวกรรมแทบทุกสาขามาในงานวิศวกรรมโทร คมนาคม แม้แต่งานด้านวิศวกรรมโยธา ก็ยังเกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโทรคมนาคม เช่น การวางฐานราก เสาตั้งสายอากาศ เป็นต้น หรือแม้แต่ทางการแพทย์ ก็มีการใช้วิศวกรรมโทรคมนาคมชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เช่น ความถี่วิทยุ และใยแก้วนำแสง มาประยุกต์ใช้ในการตรวจและรักษาผู้ป่วย เป็นต้น
วิศวกรรมโทรคมนาคม ทำให้เกิดมีทรัพยากรคลื่นวิทยุ (Radio Wave)กลายเป็นทรัพยากรของมนุษย์โลกที่มีค่าประเมินไม่ได้เกิดขึ้นจากงาน วิศวกรรมโทรคมนาคม และเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อย่างกว้างขวาง กลายเป็นคลื่นลูกที่สามของการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์โลก (Third Wave Concept) และการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจของประเทศใดๆ ล้วนขึ้นอยู่กับ เครือข่าย (Network)
ปัจจุบันงานวิศวกรรมโทรคมนาคม ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว และมีวงจรชีวิตของสินค้า หรืออุปกรณ์โทรคมนาคม สั้นลง (Shortly Technology Life Cycle)และมีความซับซ้อนสูงขึ้น พร้อมๆ ไปกับการมีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปด้วยดังที่เราเห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน
ระบบ โทรคมนาคม
ระบบโทรคมนาคม ได้คิดค้นและพัฒนาโดยวิศวกรโทรคมนาคม และผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงโทรคมนาคม อาทิ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์(en:Alexander Bell) ผู้คิดค้นโทรศัพท์ จอน โลกี้ แบรด (en:John Logie Baird) ผู้คิดค้นโทรทัศน์ และ กูลเลียโม มาโคนี่ (en:Guglielmo Marconi) ผู้คิดค้นวิทยุสื่อสาร
การสื่อสารโทรคมนาคม อาจแบ่งได้เป็นสองประเภท ดังนี้
1. การสื่อสารที่เชื่อมต่อด้วยสาย (Wired) เช่น โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน โครงข่ายโทรเลข เป็นต้น
2. การสื่อสารที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless) เช่น โครงข่ายโทรศัพท์มือถือ โครงข่ายดาวเทียม เป็นต้น
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjtcVLJC2_hgGEp3k3RgH08JNCJHU1uERym6gSOg33oNSMd3pp_M55SRRImDuKLzN3l7LtqKTRlVIzbzM1mpcvhVdl9coUPaPvvMNen4uIayW8LR2LiPFaHy0Gxe2DZ86m79JMd_6Ev-20c/s320/04223_003.jpg)
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software engineering) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรมด้านซอฟต์แวร์ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมในการดูแลการผลิต ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์เป็นต้น
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการ โครงการ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมาย ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด
วิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นศาสตร์ที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมีการวิศวกรรมที่จะควบคุมและดำเนินการผลิต ที่มีประสิทธิภาพ สามารถวัดผลได้ และ สามารถตรวจหาข้อผิดพลาดพร้อมสาเหตุได้ อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ตั้งแต่อยู่ในระหว่างการผลิตได้อีก ทั้งยัมีการทบทวนและตรวจสอบ
วิศวกรรม ซอฟต์แวร์
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ คือ การประยุกต์ใช้ระบบ กฎเกณฑ์ การเข้าถึงซึ่งสามารถวัดประเมินได้ในการพัฒนา การปฏิบัติการ และการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ และในการศึกษาสิ่งเหล่านี้ ก็คือการประยุกต์ใช้งานทางด้านวิศวกรรมมาจัดการกับซอฟต์แวร์
ข้อตกลงทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในการประชุมวิศวกรรมซอฟต์แวร์นาโต ที่จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1968 และได้ให้ความสำคัญกับเหตุการณ์ "วิกฤติการณ์ซอฟต์แวร์" ในขณะนั้น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิศวกรรมซอฟต์แวร์ก็ได้กลายมาเป็นศาสตร์และแขนงของการศึกษาเฉพาะ ในการสร้างซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีราคาถูกลงเป็นที่ยอมรับได้ ดูแลรักษาได้ง่าย และพัฒนาได้อย่างรวดเร็วขึ้น ตั้งแต่นั้นก็ยังคงมีการเปรียบเทียบวิศวกรรมซอฟต์แวร์กับวิศวกรรมแขนงอื่น ยังคงมีการถกเถียงกันว่าวิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่แท้จริงคืออะไร และวิศวกรรมซอฟต์แวร์สมควรเป็นหนึ่งในสาขาวิศวกรรมหรือไม่ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ได้ขยายวงกว้างอย่างไร้ขีดจำกัดไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยว ข้องกับซอฟต์แวร์ เช่น โปรแกรมเมอร์ การพัฒนาซอฟแวร์ในบางครั้งข้อตกลงอาจขึ้นอยู่กับผู้ที่มีส่วนสำคัญใน อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสร้างซอฟต์แวร์ แต่กระนั้นวิศวกรรมซอฟต์แวร์ก็ยังเป็นที่ใฝ่ฝันของวัยรุ่นในการประกอบอาชีพ ในนิตยสาร Money Magazine ได้กล่าวว่า อาชีพในแขนงวิศวกรรมซอฟต์แวร์มีแนวโน้มอนาคตที่สดใส[1] และในเว็บไซต์ Salary.com ได้กล่าวว่าอัตราเงินเดือนในอาชีพวิศวกรรมซอฟต์แวร์มีอัตราสูงที่สุดใน ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2006[2]
[แก้] วิชาชีพ
ในบางสาขาอาชีพ ยกตัวอย่างเช่น ในมลรัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ใบอนุญาตของวิศวกรทางด้านซอฟแวร์ ในหลาย ๆ พื้นที่ในโลก ไม่มีกฎหมายควบคุมอาชีพวิศวกรทางด้านซอฟแวร์ แต่มีข้อกำหนดบางอย่างจาก สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเลคโทรนิค(Institute of Electrical and Electronics Engineers: IEEE)และสมาคมคอมพิวเตอร์ (ACM) ซึ่งเป็นองค์กรหลักในด้านวิศวกรรมซอฟแวร์ ใน IEEE ได้กำหนดแนวทางไว้ในองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟแวร์เมื่อปี ๒๕๔๗ ได้กำหนดแนวทางและกำหนดกรอบความรู้ที่วิศวกรด้านซอฟแวร์ควรรู้ และยังกำหนดจรรยาบรรณของวิศวกรซอฟแวร์ และนอกจากนี้ IEEE ยังมีการตีพิมพ์พจนานุกรมว่าด้วยวิศวกรรมซอฟแวร์และวิศวกรรมระบบ
[แก้] การ จ้างงาน
ในปี 2004 ในสหรัฐอเมริกา สำนักแรงงานสถิติ นับ 760840 ซอฟต์แวร์วิศวกร ถืองานในสหรัฐอเมริกา; ในช่วงเวลาเดียวกันมีบาง 1.4 ล้านประกอบทำงานในสหรัฐอเมริกาในอื่นๆทั้งหมดรวมวิศวกรรมฝึกหัด เนื่องจากความญาติเป็นความแปลกฟิลด์การศึกษาทางการศึกษาในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ นั้นมักจะสอนเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และเป็นผล มากที่สุดซอฟต์แวร์วิศวกรถือด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์องศา
ส่วนใหญ่ ซอฟต์แวร์วิศวกร ทำงานเป็นพนักงานหรือผู้รับเหมา วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับธุรกิจหน่วยงานราชการ (พลเรือนหรือทหาร) และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร บางซอฟต์แวร์วิศวกรสามารถทำงานด้วยตนเองได้ บางองค์กรมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละดำเนินงานใน กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ องค์กรอื่น ๆ ต้องทำวิศวกรซอฟต์แวร์จำนวนมากหรือทั้งหมดของพวกเขา มากในโครงการคนอาจชำนาญในเดียวบทบาท โครงการขนาดเล็กคนอาจกรอกหลายหรือทั้งหมดบทบาทในเวลาเดียวกัน Specializations ประกอบด้วย: ในอุตสาหกรรม (นักวิเคราะห์ สถาปนิก นักพัฒนา ทดสอบ การสนับสนุนทาง เทคนิค ผู้จัดการ) และในด้านวิชาการ (นักวิชาการศึกษา นักวิจัย)
มีความถกเถียงในอนาคตโอกาสการจ้างงานสำหรับวิศวกรและซอฟต์แวร์อื่นๆ ไอที ผู้เชี่ยวชาญด้าน ตัวอย่างเช่นออนไลน์ล่วงหน้าตลาดที่เรียกว่า "อนาคตของ ITJOBS ไอทีงานในอเมริกา" พยายามตอบว่าจะมีเพิ่มเติมไอทีงานรวมทั้งซอฟต์แวร์วิศวกรในกว่า 2012 มีใน ค.ศ. 2002
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
การ รับรอง
การรับรองวิชาชีพของ วิศวกรซอฟต์แวร์ ยังเป็นเรื่องโต้แย้งกันอยู่ บ้างก็เห็นว่าใบรับรองเป็นเครื่องมือสำหรับยกระดับหลักปฏิบัติของมืออาชีพ และ วัตถุประสงค์ของการให้ใบรับรองวิชาชีพวิศวกรซอฟต์แวร์ เป็นการปกป้องสาธารณะ[1] สมาคมคอมพิวเตอร์หรือ ACM มีการรับรองวิชาชีพในปี 1980 และถูกยกเลิกไปเนื่องจากขาดความสนใจ ACM ได้มีการตรวจสอบความเป็นไปได้ของการรับรองวิชาชีพ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ในปี 1990 แต่ในที่สุดการรองดังกล่าวก็ถูกตัดสินว่าไม่เหมาะสมในเรื่องการรับรอง วิชาชีพในอุตสาหกรรมของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ในปี 2006 สมาคม IEEE ได้มีการรับรองวิชาชีพซอฟต์แวร์เกิน 575 ราย ในประเทศแคนาดา Canadian Information Processing Society ได้สร้างกฎหมายที่รู้จักเพื่อรองรับอาชีพข้อมูลระบบผู้เชี่ยวชาญ สถาบันวิศวกรรม ซอฟต์แวร์ได้ให้การรับรองที่ระบุหัวข้อขึ้น เช่นความปลอดภัย การปรับปรุงกระบวนการของสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ การรับรองโปรแกรมส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมไอทีเป็นการรับรองเชิงเฉพาะด้าน เทคโนโลยี และมีการจัดการโดยผู้ขายเทคโนโลยีเหล่านี้ โปรแกรมเหล่านี้มีการรับรองที่เหมาะสมกับสถาบันที่จะว่าจ้างให้บุคคลที่ใช้ กับเทคโนโลยีนั้น
วิศวกรรม สารสนเทศและการสื่อสาร
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (อังกฤษ: Information and Communication Engineering (ICE)) เป็นสหวิทยาการทางวิศวกรรมเชิงประยุกต์โดยเป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ทางวิศวกรรมว่าด้วยการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตระบบ สารสนเทศและระบบการสื่อสาร สำหรับอุตสาหกรรมหรือองค์กรวิสาหกิจที่มีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและ สารสนเทศขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรวิสาหกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจสารสนเทศเพื่อการสื่อสารระดับประเทศ ระบบข้อมูลสารสนเทศดาวเทียม อุตสาหกรรมเกมและศึกษาบันเทิง ระบบเครือข่ายองค์กรวิสาหกิจ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ของวิสาหกิจขนาดใหญ่ เป้นต้น
วิศวกรสารสนเทศและการสื่อสารจะมีความรู้ทางด้านวิศวกรรมทั่วไป โดยเน้นความรู้พื้นฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารสารสนเทศ ระบบเครือข่าย ศาสตร์การบริหารจัดการ การประมวลและการจัดการวิสาหกิจ ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการผนวกรวมองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมโทรคมนาคม เข้าด้วยกัน
ปัจจุบัน วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนในประเทศไทยเป็นแห่งแรก ณ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE)]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
[แก้] จบ แล้วได้อะไร
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสหวิทยาการทางวิศวกรรมเชิงประยุกต์ดังนั้นผู้ศึกษาทางด้านนี้จะมีองค์ ความรู้ในหลายๆส่วนเข้าด้วยกันดังต่อไปนี้
* ทางด้านโทรคมนาคม
o ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ (Telecom Network and Computer Network)
o PAN, LAN, WAN, MAN, IP, ARP, Routing, IPTable, Firewall, DNS, NAT, PAT, VLAN, VPN, MPLS
o ระบบสายส่งแบบมีสายและไร้สาย (Wire Line and Wireless)
o Wireless LAN, Wiremax, Zigbee, Bluetooth, RFID, RF, Media Communication, Twisted-pair Network Cables, Coaxial
o ระบบสื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Mobile Phone, Satellite)
o Cellular, GSM ,GPRS , EDGA, CDMA, CDMA 2000-1x, CDMA2000 1xEV-DO, WCDMA, UMTS, GPS
o การสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสงและระบบสายอากาศ (Optical Fibre, Antenna)
o Fiber to the Home (FTTH)
* ทางด้านคอมพิวเตอร์
o ระบบปฏิบัติการ (Operation System) เช่น Linux, Unix, Window, Window Server
o ภาษาโปรแกรมสมัยใหม่ (Modern Language) เช่น C, C++, Java, ASP, PHP, HTML, Visual C++,Visual Studio .Net
o ระบบฐานข้อมูล (Database) เช่น SQL, Oracle
o การติดตั้งเซฟเวอร์ (Installation and Configuration) เช่น WEB Server, SQL Server, Mail Server, FTP Server, DNS Server
o การเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการระบบเครือข่าย
จบ แล้วทำงานอะไร
วิศวกรสารสนเทศและการสื่อสารมีความรู้ด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโครงข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมที่เป็นเครื่องมือสำคัญในภาค ธุรกิจปัจจุบันทั้งในธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่มีเครื่องมือสื่อสารเป็นของตนเอง แหล่งงานที่รองรับได้แก่
บริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและมีสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท AT&T, บริษัท IBM, บริษัท SUN Microsystems, บริษัท LUCENT Technology, บริษัท CISCO เป็นต้น วิศกรที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติเหล่านี้จะมีรายได้ต่อเดือนสูงมาก วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิศวกร พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามบริษัทต่างๆ ระบบโครงข่ายธนาคารและห้างสรรพสินค้าเป็นต้นวิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบ คอมพิวเตอร์อิสระรับทำงานทั่วไปให้แก่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นวิศวกรที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นเจ้าของกิจการได้วิศวกรออกแบบติดตั้ง และดูแลระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัทการสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด, บริษัท ไทยคม, บริษัท AIS, บริษัท DTAC, บริษัท True, บริษัท Telecom Asia, บริษัท TT&T, บริษัท Ericsson, บริษัท Nokia, บริษัท AT&T, และบริษัท SIEMENS เป็นต้นวิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม วิศวกรออกแบบติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ ที่มีสถานีทวนสัญญาณทั่วประเทศ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ วิศวกรดูแลระบบสื่อสารการบินพาณิชย์ เช่น บริษัท การบินไทย, บริษัท วิทยุการบิน จำกัด
[แก้] บท ความที่เกี่ยวข้อง
ศ.ดร.อธิคม ฤกษบุตร OSK98(94): วิศวกรรมยุคใหม่...เรียนอย่างไรไม่ตกงาน
วิศวกรรมยุคใหม่...เรียนอย่างไรไม่ตกงาน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 มิถุนายน 2551 08:52 น.
ปัจจุบัน "วิศวกร" ยังเป็นอาชีพท็อปฮิตของเด็กๆ ทุกยุคสมัย เพราะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ถูกมองว่าทำเงินได้เป็นจำนวนมากมีตลาดงานรองรับ เกือบทุกสถาบันมีการเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์อย่างแพร่หลาย และเป็นสาขาวิชาที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในวิชาชีพนี้ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันการศึกษา
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. อธิคม ฤกษบุตร OSK98(94) รองอธิการบดีและคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ผู้คร่ำวอดในวงการวิศวกรมาเป็นเวลาหลายปี กล่าวว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาจำเป็นต้องใช้วิศวกรเป็นจำนวนมาก ทำให้ความนิยมของวิศวกรในสาขาไฟฟ้า และ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์รวมไปถึงสารสนเทศกำลังมาแรง “ด้วยเหตุผลที่ว่าการทำงานต่างๆจำเป็นต้องใช้เครื่องมือระบบอัตโนมัติ ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจวัดกันที่ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล ใครมีข้อมูลมาก และนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ดี ก็จะได้เปรียบในการแข่งขันของภาคธุรกิจ เราจะเห็นได้ว่า การรวบรวมข้อมูลจะแตกต่างจากอดีต ข้อมูลที่มีทุกชนิด จะมีส่วนสำคัญหรือมีผลเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรทั้งสิ้น รวมถึงการทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดด้วย ปัจจุบันข้อมูลที่ไม่ได้นิ่งอยู่กับที่ แต่สามารถเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานแต่ละแห่งผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตได้ เพราะฉะนั้นไม่น่าแปลกใจว่า สายงานด้านคอมพิวเตอร์สารสนเทศจึงค่อนข้างจะเป็นที่นิยม เพราะว่าในตลาดกำลังต้องการแรงงานด้านนี้เป็นจำนวนมาก”
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้สายงานวิศวกรกำลังเป็นที่นิยมของหมู่นิสิต นักศึกษายุคใหม่ “ลักษณะงานกำลังพลิกโฉมหน้าไปจากเดิม ๆ อย่างนักศึกษาในปัจจุบัน บางทีอาจจะต้องมองไปถึงงานในอนาคตเพราะกว่าตัวเองจะจบได้ปริญญาก็ต้องใช้ เวลาอีก 3-5 ปี เพราะถ้าถึงเวลานั้นงานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะไม่เหมือนกับบริษัท หรือผู้ประกอบการมักจะมองออกว่างานจะเป็นไปแบบไหน แต่ในยุคปัจจุบันจะไม่ใช่แค่เรื่องของการจัดการข้อมูลเพียงอย่างเดียวแต่จะ มีเรื่องของการสื่อสารข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น”
ทั้งนี้ ทำให้เกิดระบบเชื่อมโยงข้อมูลที่เรียกว่า " ระบบเครือข่าย " ฉะนั้นการจัดการข้อมูลอย่างเดียวที่เป็นอยู่ตอนนี้จะใช้ไม่ได้แล้วแต่จะเป็น การจัดการระบบสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งศาสตร์ด้านวิศวกรรมรองรับการจัดการด้านนี้ได้โดยตรง
รองอธิการบดี กล่าวเสริมอีกว่า "คอมพิวเตอร์ในอดีตอาจจะพูดถึงฮาร์ตแวร์และซอฟแวร์ แต่ปัจจุบันจะพูดถึงการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายไปด้วย กัน เพราะฉะนั้นศาสตร์ในปัจจุบันจะแยกขยายออกไปหลายอย่าง ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นก็สำคัญกระบวนการจัดการข้อมูล คอมพิวเตอร์ก็ยังจำเป็นอยู่ เพราะมีข้อมูลที่มีรูปแบบต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจัดการ โดยข้อมูลในอนาคตจะเป็นรูปภาพและภาพยนตร์เช่นวีดิโอคลิปมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอีกด้านหนึ่ง อาทิ แอนิเมชั่น หรือ สื่อบันเทิงต่างๆ แทรกเข้ามาด้วย"
สำหรับการสื่อสารข้อมูลที่เป็นเครือข่าย ในปัจจุบันมีความจำเป็นมากเพราะทุกองค์กรต้องมีการติดต่อเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะคล้ายอินเทอร์เน็ต แต่จะทำมากกว่านั้นคือ จะมีการถ่ายโอนข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีความเชื่อมโยงกับ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE – Information & Communication Engineering) ที่กำลังเปิดสอนอยู่ในตอนนี้
"วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ไอซีอี คือการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์เชิงวิศวกรรม,ด้านสื่อสารโทร คมนาคมเชิงวิศวกรรม และด้านของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเรียกรวมได้ว่า เป็นศาสตร์วิศวกรรมโทรคมนาคมยุคใหม่ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนรู้ทางด้านนี้จะมีความรู้ครอบคลุมสามารถทำงานในสังคม ยุคใหม่ได้ทั่วโลก ที่สำคัญปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มมีความต้องการ ผู้ที่จบวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นแล้ว" รศ. ดร.อธิคม กล่าวทิ้งท้าย
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (อังกฤษ: Information and Communication Engineering (ICE)) เป็นสหวิทยาการทางวิศวกรรมเชิงประยุกต์โดยเป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ทางวิศวกรรมว่าด้วยการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตระบบ สารสนเทศและระบบการสื่อสาร สำหรับอุตสาหกรรมหรือองค์กรวิสาหกิจที่มีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและ สารสนเทศขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สำหรับองค์กรวิสาหกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจสารสนเทศเพื่อการสื่อสารระดับประเทศ ระบบข้อมูลสารสนเทศดาวเทียม อุตสาหกรรมเกมและศึกษาบันเทิง ระบบเครือข่ายองค์กรวิสาหกิจ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ของวิสาหกิจขนาดใหญ่ เป้นต้น
วิศวกรสารสนเทศและการสื่อสารจะมีความรู้ทางด้านวิศวกรรมทั่วไป โดยเน้นความรู้พื้นฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารสารสนเทศ ระบบเครือข่าย ศาสตร์การบริหารจัดการ การประมวลและการจัดการวิสาหกิจ ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการผนวกรวมองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมโทรคมนาคม เข้าด้วยกัน
ปัจจุบัน วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนในประเทศไทยเป็นแห่งแรก ณ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE)]มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
[แก้] จบ แล้วได้อะไร
วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นสหวิทยาการทางวิศวกรรมเชิงประยุกต์ดังนั้นผู้ศึกษาทางด้านนี้จะมีองค์ ความรู้ในหลายๆส่วนเข้าด้วยกันดังต่อไปนี้
* ทางด้านโทรคมนาคม
o ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ (Telecom Network and Computer Network)
o PAN, LAN, WAN, MAN, IP, ARP, Routing, IPTable, Firewall, DNS, NAT, PAT, VLAN, VPN, MPLS
o ระบบสายส่งแบบมีสายและไร้สาย (Wire Line and Wireless)
o Wireless LAN, Wiremax, Zigbee, Bluetooth, RFID, RF, Media Communication, Twisted-pair Network Cables, Coaxial
o ระบบสื่อสารต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Mobile Phone, Satellite)
o Cellular, GSM ,GPRS , EDGA, CDMA, CDMA 2000-1x, CDMA2000 1xEV-DO, WCDMA, UMTS, GPS
o การสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสงและระบบสายอากาศ (Optical Fibre, Antenna)
o Fiber to the Home (FTTH)
* ทางด้านคอมพิวเตอร์
o ระบบปฏิบัติการ (Operation System) เช่น Linux, Unix, Window, Window Server
o ภาษาโปรแกรมสมัยใหม่ (Modern Language) เช่น C, C++, Java, ASP, PHP, HTML, Visual C++,Visual Studio .Net
o ระบบฐานข้อมูล (Database) เช่น SQL, Oracle
o การติดตั้งเซฟเวอร์ (Installation and Configuration) เช่น WEB Server, SQL Server, Mail Server, FTP Server, DNS Server
o การเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการระบบเครือข่าย
จบ แล้วทำงานอะไร
วิศวกรสารสนเทศและการสื่อสารมีความรู้ด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโครงข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมที่เป็นเครื่องมือสำคัญในภาค ธุรกิจปัจจุบันทั้งในธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่มีเครื่องมือสื่อสารเป็นของตนเอง แหล่งงานที่รองรับได้แก่
บริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและมีสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท AT&T, บริษัท IBM, บริษัท SUN Microsystems, บริษัท LUCENT Technology, บริษัท CISCO เป็นต้น วิศกรที่ทำงานในบริษัทข้ามชาติเหล่านี้จะมีรายได้ต่อเดือนสูงมาก วิศวกรดูแลระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิศวกร พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามบริษัทต่างๆ ระบบโครงข่ายธนาคารและห้างสรรพสินค้าเป็นต้นวิศวกรพัฒนาโปรแกรมและระบบ คอมพิวเตอร์อิสระรับทำงานทั่วไปให้แก่กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นวิศวกรที่สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นเจ้าของกิจการได้วิศวกรออกแบบติดตั้ง และดูแลระบบการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัทการสื่อสารแห่งประเทศไทย จำกัด, บริษัท ไทยคม, บริษัท AIS, บริษัท DTAC, บริษัท True, บริษัท Telecom Asia, บริษัท TT&T, บริษัท Ericsson, บริษัท Nokia, บริษัท AT&T, และบริษัท SIEMENS เป็นต้นวิศวกรติดตั้งและดูแลระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว ระบบไมโครเวฟ ระบบสื่อสารดาวเทียม วิศวกรออกแบบติดตั้งและดูแลระบบสถานีวิทยุโทรทัศน์ ที่มีสถานีทวนสัญญาณทั่วประเทศ เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่างๆ วิศวกรดูแลระบบสื่อสารการบินพาณิชย์ เช่น บริษัท การบินไทย, บริษัท วิทยุการบิน จำกัด
[แก้] บท ความที่เกี่ยวข้อง
ศ.ดร.อธิคม ฤกษบุตร OSK98(94): วิศวกรรมยุคใหม่...เรียนอย่างไรไม่ตกงาน
วิศวกรรมยุคใหม่...เรียนอย่างไรไม่ตกงาน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 27 มิถุนายน 2551 08:52 น.
ปัจจุบัน "วิศวกร" ยังเป็นอาชีพท็อปฮิตของเด็กๆ ทุกยุคสมัย เพราะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ถูกมองว่าทำเงินได้เป็นจำนวนมากมีตลาดงานรองรับ เกือบทุกสถาบันมีการเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์อย่างแพร่หลาย และเป็นสาขาวิชาที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในวิชาชีพนี้ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของสถาบันการศึกษา
ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. อธิคม ฤกษบุตร OSK98(94) รองอธิการบดีและคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ผู้คร่ำวอดในวงการวิศวกรมาเป็นเวลาหลายปี กล่าวว่า ประเทศที่กำลังพัฒนาจำเป็นต้องใช้วิศวกรเป็นจำนวนมาก ทำให้ความนิยมของวิศวกรในสาขาไฟฟ้า และ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์รวมไปถึงสารสนเทศกำลังมาแรง “ด้วยเหตุผลที่ว่าการทำงานต่างๆจำเป็นต้องใช้เครื่องมือระบบอัตโนมัติ ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจวัดกันที่ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล ใครมีข้อมูลมาก และนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ดี ก็จะได้เปรียบในการแข่งขันของภาคธุรกิจ เราจะเห็นได้ว่า การรวบรวมข้อมูลจะแตกต่างจากอดีต ข้อมูลที่มีทุกชนิด จะมีส่วนสำคัญหรือมีผลเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรทั้งสิ้น รวมถึงการทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดด้วย ปัจจุบันข้อมูลที่ไม่ได้นิ่งอยู่กับที่ แต่สามารถเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานแต่ละแห่งผ่านระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตได้ เพราะฉะนั้นไม่น่าแปลกใจว่า สายงานด้านคอมพิวเตอร์สารสนเทศจึงค่อนข้างจะเป็นที่นิยม เพราะว่าในตลาดกำลังต้องการแรงงานด้านนี้เป็นจำนวนมาก”
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้สายงานวิศวกรกำลังเป็นที่นิยมของหมู่นิสิต นักศึกษายุคใหม่ “ลักษณะงานกำลังพลิกโฉมหน้าไปจากเดิม ๆ อย่างนักศึกษาในปัจจุบัน บางทีอาจจะต้องมองไปถึงงานในอนาคตเพราะกว่าตัวเองจะจบได้ปริญญาก็ต้องใช้ เวลาอีก 3-5 ปี เพราะถ้าถึงเวลานั้นงานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะไม่เหมือนกับบริษัท หรือผู้ประกอบการมักจะมองออกว่างานจะเป็นไปแบบไหน แต่ในยุคปัจจุบันจะไม่ใช่แค่เรื่องของการจัดการข้อมูลเพียงอย่างเดียวแต่จะ มีเรื่องของการสื่อสารข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น”
ทั้งนี้ ทำให้เกิดระบบเชื่อมโยงข้อมูลที่เรียกว่า " ระบบเครือข่าย " ฉะนั้นการจัดการข้อมูลอย่างเดียวที่เป็นอยู่ตอนนี้จะใช้ไม่ได้แล้วแต่จะเป็น การจัดการระบบสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งศาสตร์ด้านวิศวกรรมรองรับการจัดการด้านนี้ได้โดยตรง
รองอธิการบดี กล่าวเสริมอีกว่า "คอมพิวเตอร์ในอดีตอาจจะพูดถึงฮาร์ตแวร์และซอฟแวร์ แต่ปัจจุบันจะพูดถึงการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายไปด้วย กัน เพราะฉะนั้นศาสตร์ในปัจจุบันจะแยกขยายออกไปหลายอย่าง ซึ่งแน่นอนว่าในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นก็สำคัญกระบวนการจัดการข้อมูล คอมพิวเตอร์ก็ยังจำเป็นอยู่ เพราะมีข้อมูลที่มีรูปแบบต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีจัดการ โดยข้อมูลในอนาคตจะเป็นรูปภาพและภาพยนตร์เช่นวีดิโอคลิปมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาอีกด้านหนึ่ง อาทิ แอนิเมชั่น หรือ สื่อบันเทิงต่างๆ แทรกเข้ามาด้วย"
สำหรับการสื่อสารข้อมูลที่เป็นเครือข่าย ในปัจจุบันมีความจำเป็นมากเพราะทุกองค์กรต้องมีการติดต่อเชื่อมโยงกัน ซึ่งจะคล้ายอินเทอร์เน็ต แต่จะทำมากกว่านั้นคือ จะมีการถ่ายโอนข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีความเชื่อมโยงกับ สาขาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร (ICE – Information & Communication Engineering) ที่กำลังเปิดสอนอยู่ในตอนนี้
"วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารหรือ ไอซีอี คือการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์เชิงวิศวกรรม,ด้านสื่อสารโทร คมนาคมเชิงวิศวกรรม และด้านของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเรียกรวมได้ว่า เป็นศาสตร์วิศวกรรมโทรคมนาคมยุคใหม่ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนรู้ทางด้านนี้จะมีความรู้ครอบคลุมสามารถทำงานในสังคม ยุคใหม่ได้ทั่วโลก ที่สำคัญปัจจุบันหลายองค์กรเริ่มมีความต้องการ ผู้ที่จบวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มมากขึ้นแล้ว" รศ. ดร.อธิคม กล่าวทิ้งท้าย
วิศวกรรมสารสนเทศ (Information Engineering) เป็นสาขาทางวิศวกรรมศาสตร์ ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการข้อมูลข่าวสาร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อความต้องการของมนุษย์
การจัดการข้อมูลข่าวสาร ในที่นี้นั้นหมายถึงการกระทำใดๆต่อข้อมูล เช่น การจัดเก็บ การรับส่งข้อมูล การประมวลผลข้อมูล เป็นต้น
สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ จะมุ่งเน้นการศึกษาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในสาขาต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ตลอดจนถึงสาขาทางวิศวกรรมไฟ้ฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบควบคุม เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แล้วส่งผ่านระบบโครงข่ายการสื่อสารแบบมี สายหรือแบบไร้สายไปยังปลายทาง ตลอดจนการจัดเก็บและการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
[แก้] วิศวกรรม สารสนเทศในประเทศไทย
วิศวกรรมสารสนเทศเป็นสาขาใหม่ของ ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มองย้อนกลับไปเมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้โอนเข้าสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อเริ่มแรกนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์มีภาควิชาเพียง 3 ภาค ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 เริ่มแรกภาควิชานี้ตั้งอยู่ที่ศูนย์นนทบุรี และตึกโทรคมนาคมที่ลาดกระบัง โดยเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ) สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรทัศน์เพียงสาขาเดียว โดย รับนักศึกษาที่จบ ป.ว.ส. สาขาไฟฟ้าโทรคมนาคม สาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งมีการเรียนรอบค่ำเป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2539 ได้เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีโทรคมนาคม และสาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นอีก และได้ย้ายภาควิชาจากตึกโทรคมนาคมมาอยู่ที่อาคาร 12 ชั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้งทางภาควิชาได้มีการทำวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนทางด้าน Broadcasting จากรัฐบาลญี่ปุ่นมาตลอด ทางภาควิชาจึงได้ผลักดันหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ เข้าในแผน 8 ในปี พ.ศ. 2536 และต่อมาปี พ.ศ. 2539 ทางทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้ทำการเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ ได้ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งภาควิชานี้เป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรม สารสนเทศ
การจัดการข้อมูลข่าวสาร ในที่นี้นั้นหมายถึงการกระทำใดๆต่อข้อมูล เช่น การจัดเก็บ การรับส่งข้อมูล การประมวลผลข้อมูล เป็นต้น
สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ จะมุ่งเน้นการศึกษาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในสาขาต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ตลอดจนถึงสาขาทางวิศวกรรมไฟ้ฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบควบคุม เป็นต้น
ยกตัวอย่างเช่น การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์แล้วส่งผ่านระบบโครงข่ายการสื่อสารแบบมี สายหรือแบบไร้สายไปยังปลายทาง ตลอดจนการจัดเก็บและการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น
[แก้] วิศวกรรม สารสนเทศในประเทศไทย
วิศวกรรมสารสนเทศเป็นสาขาใหม่ของ ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรมคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มองย้อนกลับไปเมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้โอนเข้าสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อเริ่มแรกนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์มีภาควิชาเพียง 3 ภาค ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม
ภาควิชาเทคนิคอุตสาหกรรม เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 เริ่มแรกภาควิชานี้ตั้งอยู่ที่ศูนย์นนทบุรี และตึกโทรคมนาคมที่ลาดกระบัง โดยเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ) สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรทัศน์เพียงสาขาเดียว โดย รับนักศึกษาที่จบ ป.ว.ส. สาขาไฟฟ้าโทรคมนาคม สาขาอิเล็กทรอนิกส์และสาขาวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งมีการเรียนรอบค่ำเป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2539 ได้เปิดสอนสาขาเทคโนโลยีโทรคมนาคม และสาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นอีก และได้ย้ายภาควิชาจากตึกโทรคมนาคมมาอยู่ที่อาคาร 12 ชั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์
เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้งทางภาควิชาได้มีการทำวิจัยและได้รับทุนสนับสนุนทางด้าน Broadcasting จากรัฐบาลญี่ปุ่นมาตลอด ทางภาควิชาจึงได้ผลักดันหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ เข้าในแผน 8 ในปี พ.ศ. 2536 และต่อมาปี พ.ศ. 2539 ทางทบวงมหาวิทยาลัย ได้อนุมัติให้ทำการเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ ได้ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งภาควิชานี้เป็นแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรม สารสนเทศ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)